Translate

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นักปราชญ์กับศิษฐ์



     ในรัชสมัย พระเจ้าฮ่องเลี้ยนเต้ ราชวงศ์ถัง  มีนักปราชย์ชื่อดังคนหนึ่งในแคว้น เขามีลูกศิษฐ์ลูกหามากมาย  หนึ่งในศิษฐ์ของเขาก็มี " อาเต๋า " ลูกชายเจ้าของโรงเตี๊ยมชื่อดังรวมอยู่ด้วย

      อาเต๋า นั้นถือว่า เป็นศิษฐ์เอกของนักปราชญ์ท่านนี้ นอกจากนี้ อาเต๋าเอง ก็ยังมีความเคารพนับถือ และศรัทธาในตัวอาจารย์ของเขาเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเรื่องอะไร เขาก็จะเห็นดีเห็นงามไปกับอาจารย์ของเขาทุกอย่าง

     จนกระทั่งวันหนึ่ง  อาจารย์ของเขา ได้เกิดการท่องกลอนผิดขึ้น แทนที่ อาเต๋า จะรีบท้วงติง กับเห็นดีเห็นงามไปกับอาจารย์ด้วย ว่า กลอนที่อาจารย์ท่องผิดนั้น มีความไพเราะเพราะพริ้งกว่ากลอนเดิม  นอกจากนี้ อาเต๋า ก็ยังดำเนินชีวิต ตามแบบ อาจารย์ มาชนิดถอดด้ามทุกกระเบียดนิ้ว



     เมื่อท่านอาจารย์ นักปราชญ์ ได้เห็นการกระทำ ของ อาเต๋า เช่นนี้ จึงได้คิดใคร่ครวญ ว่า ไม่สมควรจะปล่อยให้ อาเต๋า เป็นเช่นนี้  เพราะแม้ว่า การเคารพครูบาอาจารย์ นั้นจะดี  แต่ การเคารพนับถือแบบนี้ นั้นไม่เป็นผลดี ต่อตัว อาเต๋า เองอย่างแน่แน้

    วันหนึ่ง ท่านอาจารย์ จึงได้พาอาเต๋า ไปที่บ้านหลังหนึ่ง ซึ่งมีฐานะค่อนข้างจนและทรุดโทรม  จากนั้น ก็สั่งให้อาเต๋า เข้าไปในบ้านหลังนั้น แรกเริ่มนั้น อาเต๋า คิดว่า อาจารย์ของเขาจะให้เอาเงินมามอบให้กับหญิงสาวคนหนึ่งที่ใส่เสื้อผ้าซ่อมซ่อ ที่อยู่กับลูกน้อยแต่เพียงลำพังภายในบ้าน  แต่เรื่องกลับเป็นไปในทางตรงกันข้ามที่เขาคิด



     "แม่นาง เจ้าจงไปเอาเงินมาให้ข้าเดี๋ยวนี้ ไวๆ เอาเงินของเจ้ามาให้ข้าเยอะๆ ข้าอยากได้เงินของเจ้า"  อาจารย์ของอาเต๋ากล่าว กับหญิงสาว

    "ท่านนักปราชญ์ ท่านก็รู้ว่าข้าไม่มีเงิน"  หญิงสาวคนนั้น กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ ปนหวาดกลัว

    "ชิชะ เฮอะ เจ้าโกหกข้า อาเต๋า เจ้าจงไปค้นบ้านนาง แล้วเอาเงินของนางมาให้ข้า"

อาเต๋าเมื่อได้ยินอาจารย์สั่งเช่นนั้นก็ตกใจ  จึงไม่กล้าทำตามที่อาจารย์สั่ง ได้แต่ยืนนิ่งๆ ไม่ไหวติง

    "อาเต๋า เจ้ากล้าขัดคำสั่งอาจารย์ อย่างนั้นรึ"

    "แต่ แต่  " อาเต๋า พยายามจะคัดค้าน

    "ไม่มีแต่อาเต๋า ข้าสั่งเจ้าจงรีบทำตามข้า เดี๋ยวนี้" อาจารย์ของเขาตวาด

   เมื่อได้ยินดังนั้น อาเต๋าจึงเดินไปค้นหา ทรัพย์สินเงินทอง ในบ้านของหญิงสาว ซึ่งก็เงินไม่มากเท่าไหร่ เมื่อเขาได้เงินมาตามที่อาจารย์สั่ง เขาก็ยื่นเงินนั้นให้กับอาจารย์ อาจารย์รับมอบถุงเงินอย่างภาคภูมิใจ

   "ครั้งหน้า เจ้าจงเตรียมเงินให้มากกว่านี้ ไม่เช่นนั้น ข้าจะมาพังบ้านของเจ้าให้ราบคาบ"

อาจารย์ กล่าวกับหญิงสาวก่อนเดินลับไป



เหตุการณ์ก็เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ  จนหลายๆครั้งเข้า วันหนึ่ง อาเต๋าจึงสงสัยถามอาจารย์ของเขาว่า

    "ท่านอาจารย์ ทำเช่นนี้ไม่ถูก ทำเช่นนี้ไม่ใช่วิสัยของคนดี"  อาเต๋ากล่าวตัดพ้อกับอาจารย์

    "ข้าเป็นอาจารย์ของเจ้านะ ข้าว่าถูกก็ต้องถูกสิ" อาจารย์ของเขากล่าว

    "ไม่ นี่คือการเบียดเบียนคนจน" อาเต๋าไม่ลดละ

    เมื่อได้ยินคำพูดของอาเต๋า อาจารย์ของเขาก็ยิ้มออก ในที่สุดเจ้าก็รู้แล้วสินะ ว่าอาจารย์ของเจ้านั้น ไม่ได้ทำอะไรถูกหมดเสียทุกอย่าง  ถึงแม้ว่าข้าจะเป็นอาจารย์ของเจ้า เป็นนักปราชญ์ ที่คนทั้งแผ่นดิน นับหน้าถือตา แต่บางครั้ง ก็มีเรื่องที่ทำผิดพลาดเช่นเดียวกัน ชีวิตเป็นของเจ้า  เจ้าควรจะดำเนินชีวิตเป็นแบบชีวิตของเจ้า ไม่ใชตามแบบข้า เพราะชีวิตใคร ก็มีชะตาชีวิตของมัน


สุภาษิต สอนใจ

  "จงให้ความสนิทสนมกับนักปราชญ์  แต่ไม่ใช่ทำตามเขา ทุกอย่างโดยจนหมดสิ้น"
   

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เดินเร็ว เดินช้า

    


       แม้ว่า บางครั้ง อาจไม่ได้อยู่ในช่วงหน้าฝน แต่ก็มีบางครั้ง บางคราว ที่ธรรมชาติแปรปรวน ก่อให้เกิดพายุ  และอาจมีฝนตก มาอย่างไม่มีปีมีขลุ่ย  ซึ่ง โดยปกติ คนส่วนใหญ่ เมื่อเจอลม เจอ ฝน ก็จะต้องรีบวิ่งเข้าที่กำบังหลบฝน  แม้ว่า จะไม่ได้่ช่วยอะไรมากมาย เพราะว่าฝนหลงฤดูนั้น ส่วนมากจะเป็นห่าใหญ่ ที่แม้ว่าเรา จะรีบสักปานใด ก็จะยังคงต้องเปียกเหมือนเดิม

      ในขณะที่ หมู่ชนคนกลุ่มใหญ่ ต่างวิ่งแตกตื่นหลบฝนหลบพายุอยุ่นั้น กลังมีชายหนุ่มผู้หนึ่งนามว่า "อาเต้า"   อาเต้า เป็นพ่อค้าขาย หมั่นโถว อยู่ที่ในตลาด  ซึ่งในวันนั้น เขาปิดร้าน เพื่อมาทำธุระในต่างเมือง  และเมื่อถึงขากลับ ฝนกลับตกมาพอดี



     ตอนที่ลมฝน พัดคะนอง ฝนตกอยุ่นั้น อาเต้า กลับเดินฝ่าสายฝน ทอดน่องไปเรื่อยๆ เหมือนกับว่า สภาวะการณ์ปกติ ไม่มีลมฟ้าฝนคะนอง และเหมือนกับว่า ไม่มีสายฝน ลงเทรดชุ่มฉ่ำกับตัวเขาเลย  แต่ที่สำคัญ ที่หลายคนมองอย่างแปลกใจคือ ในตัวเขา ไม่มีเครื่องป้องกันฝนใดๆเลย  ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ หรือว่าร่มกันฝนก็ตาม

     ในขณะนั้นเอง อาเวิ่น  ซึ่งเป็นเพื่อนสหายของเขานั้น ก็กำลังวิ่งฝ่าสายฝนมาพอดี  ก็เห็นสหายของตนเอง เดินอย่างไม่อนาทรร้อนใจใดๆเลย จึงกล่าว เอ่ยถามด้วยความสงสัยว่า

     "อาเต้า ทำไมเจ้าไม่รีบเดินเสียเล่า ฝนตกหนัก ฟ้าลมคะนองปานนี้"

      เมื่ออาเต้า ได้ฟังคำกล่าวของสหายที่ห่วงใยเขา เขาจึงกล่าวตอบไปว่า

     "ฝนตกหนักเช่นนี้ ไม่ว่าจะวิ่งหรือเดินช้าๆ ก็ย่อมจะเปียกเหมือนกันหมด แล้วข้าจะวิ่งไปใยเล่า หากว่าข้าวิ่งไปแล้วนั้น เกิดลื่นล้มขึ้นมา แข้งขาเคล็ดไม่แย่ไปกันใหญ่รึ  ก็เหมือนกับตอนที่เรากำลังมีปัญหาหนักนั่นแหละ  การรีบร้อน ก็จะทำให้เราทำอะไรผิดพลาดได้ง่าย แต่หากว่าเราค่อยๆคิด ค่อยๆ ทำ แม้ว่าจะเปียกหน่อย แต่ก็ช่วยทำให้เราไม่เจ็บ หรือเสียหายหนักได้ ไงเล่าสหาย"




สุภาษิตสอนใจ  

   "เมื่อเปียกแล้วรีบร้อนก็ไร้ประโยชน์   เมื่อเกิดปัญหา แล้วร้อนรนก็ไร้ค่า"

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ลูกโซ่




     ณ ชายป่าแห่งหนึ่ง ณ เเคว้น ต้าเหลียง   มีตั๊กแตนตัวหนึ่ง  กำลังจ้องมองหาเหยื่อเพื่อจะกินเป็นอาหาร  ทันใดนั้นเอง เจ้าตั๊กแตนเหลือบไปเห็น จักจั่น ตัวหนึ่ง กำลังเกาะอยู่ตรงกิ่งไม้ เจ้าตั๊กแตน จึงคิดจะจับ เจ้าจักจั่น กินเป็นอาหารในวันนี้ และชีวิตของมัน คงจะมีความสุข อิ่มท้องอย่างแน่นอน

     ในขณะที่ เจ้าตั๊กแตน จ้องมอง เพื่อที่จะตะครุบ เจ้าจักจั่นเป็นอาหารอยู่นั้น ก็มีนกตัวหนึ่ง เกาะกิ่งไม้อยู่ที่สูง ตาของมันจ้องมองมาที่เจ้าตั๊กแตน เพื่อหวังจะ ได้ลิ้มรสโอชะเนื้อตั๊กแตนเป็นอาหารของวันนี้  มันมองด้วยความกระหยิ่ม เอาละ อีกสักครู่ เจ้าได้เป็นอาหารของข้าแน่ๆในวันนี้



     และในขณะเดียวกันนั้นเอง  "อาต้า" เด็กน้อยในหมู่บ้านใกล้ชายป่า  กำลังออกล่าหายิงสัตว์ป่าเพื่อไปเป็นอาหารในวันนี้  เมื่อมันเห็นเจ้านก เกาะกิ่งไม้นิ่งๆ อยู่บนคาคบกิ่งไม้ ไม่ไหวติง  เด็กน้อย จึงยกหนังสติ๊ก เล็งไปที่เจ้านกโชคร้ายตนนั้น  เพื่อที่จะได้เอานกตัวนี้ไปให้แม่ทำอาหารให้กินในวันนี้

     จังหวะนั้นเอง เจ้าตั๊กแตน เข้าขยุ้ม เจ้าจักจั่นเป็นอาหารในทันที เจ้านกไม่รอช้า ตะครบเจ้าตั๊กแตนเป็นอาหารในทันใด และในขณะที่นก กำลัง ขย้ำกินเจ้าตั๊กแตนโชคร้าย อาต้า ก็ง้างหนังสะติ๊ก เล็งยิงเจ้านกตัวนั้นอย่างเต็มที่  ถูกเข้าอย่างจัง อาต้าจึงได้นกไปเป็นอาหารเย็นในวันนี้





สุภาษิตสอนใจ

"เมื่อจ้องจะโจมตีผู้อื่น  ย่อมเปิดหลังให้ผู้อื่นโจมตี"

ชายแปลกหน้ากับคนขายปาท่องโก๋



       ณ ตลาดของเมืองจิ่งหง  มีพ่อค้าขายปาท่องโก๋คนหนึ่ง ซึ่งขายปาท่องโก๋ในตลาดนี้มานาน จนมีชื่อเสียง ในความอร่อยของปาท่องโก๋ และฝีมือการทอดของเขา  ไม่ว่าใครก็ตาม ที่เข้ามาในตลาดนี้ จะต้องอุดหนุน ปาท่องโก๋ของเขาอย่างสม่ำเสมอ  แน่ละว่า พ่อค้าคนนี้ จะต้องมั่นใจ และภูมิใจ ในฝีมือของตนอย่างแน่นอนพอสมควร

        จนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่ ช่วงสายๆของวัน ลูกค้าเริ่มบางตา  ไม่ค่อยจะมีคนมาแวะซื้อปาท่องโก๋ของเขาแล้ว  ด้วยความไม่ยุ่ง  เขาจึงจัดแจง ทอดปาท่องโก๋ของเขา อย่างประณีต และบรรจง 

        ก็มีชายแปลกหน้าคนหนึ่ง  มายืนมองการทอดของเขาแล้ว ก็ส่ายหน้า พลางรำพึง เหมือนคนที่เห็นอะไรไม่ถูกไม่ควรสักอย่าง  ด้วยความสงสัย เขาจึงถามชายแปลกหน้าว่า

        "ไม่ทราบว่า พี่ชาย มีธุระอันใดกับข้าหรือไม่ " พ่อค้าปาท่องโก๋ถามชายแปลกหน้า

         "เปลืองน้ำมัน ทอดปาท่องโก๊แบบนี้เปลืองน้ำมันตายเลย " ชายแปลกหน้ากล่าว

        เมื่อได้ยินคำของชายแปลกหน้าที่เขาไม่รู้จัก  คนขายก็รู้สึกตกใจในทันที อีกทั้งชายแปลกหน้า แต่งกายดูภูมิฐาน  และมีท่าทีทรงภูมิ เขาคิดว่า ชายคนนี้ อาจมีความรู้เรื่องการทอดปาท่องโก๋เป็นอย่างดี เขาจึงรีบเชื้อเชิญ ชายแปลกหน้า เข้ามาในร้านและเลี้ยงดูปูเสื่อเป็นอย่างดี




         "พี่ชาย  ท่านมาจากที่ใดเล่า โปรดชี้แนะ การทอดป๋าท่องโก๋แบบไม่เปลืองน้ำมันให้แ่ก่ข้าด้วยเถิด" คนชายปาท่องโก๋กล่าว  แต่ว่า ชายแปลกหน้า ก็นั่งนิ่ง กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า

         "เปลืองน้ำมัน ทอดแบบนี้เปลืองน้ำมัน"

          เมื่อได้ยินดังนั้น  พ่อค้าป่าท่องโก๋ จึงเอา ปาท่องโก๋ ขนมอย่างดีภายในร้าน รวมถึงน้ำชาอย่างดี มาต้อนรับขับสู เพิ่มมากขึ้น เมื่อชายแปลกหน้า กินดิ่มจนเสร็จดีแล้ว ก็มีสีหน้าท่าทางยิ้มแย้มดีขึ้นกว่าเก่ามาก  ทำให้คนขายปาท่องโก๋ เริ่มีความหวังว่า จะได้สูตรเด็ดๆ ในการทำปาท่องโก๋ให้อร่อยกว่าเดิม หรือาจได้เคล็ดลับใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น  เขาจึงรีบถามชายแปลกหน้าว่า

        "พี่ชาย  ท่านขอกข้าได้รึยังท่าน ทำอย่างไร ข้าจะทอดปาท่องโก๋ได้ แบบไม่เปลืองน้ำมัน"

     เมื่อได้ยินคนขายปาท่องโก๋ รนรานที่จะถาม ชายแปลกหน้าจึงหัวเราะ แล้ว ตอบกลับ ด้วยน้ำเสียงที่จะขบขันว่า 

         "ไม่ยากหรอก หากว่าเจ้าไม่อยากจะเปลืองน้ำมัน ก็หันไปขายหมั่นโถว ซาลาเปาก็สิ้นเรื่อง"



สุภาษิต สอนใจ

"เราไม่อาจจะมองคนได้จากคำพูดและการกระทำ "

"คนเขลาย่อมจะเป็นเหยื่อของผู้มีปัญญา"

คนขี้ขโมย




      ครั้งหนึ่ง มีชาย นามว่า "อาเว่ย"  เขาอยู่ในหมู่บ้านชนบทเล็กๆแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงของจีน   เป็นหมู่บ้านที่สงบ ชาวบ้านต่างทำมาหากิน รักใคร่กลมเกลียว มีความสามัคคี และมีความสุขหมู่บ้านหนึ่ง

      "อาเว่ย" นั้น เป็นเด็กกำพร้า บิดา มารดานั้นตายแต่น้อย หมดแล้ว  ซ้ำฐานะทางบ้าน ก็ขัดสนพอสมควร  มีอยู่วันหนึ่ง อาเว่ย นั้น หิวเหลือกำลัง ไม่มีแม้แต่ข้าวสาร จะกรอกหม้อ หุงกินในวันนี้  เรียกได้ว่า ลำบากยากเข็ญพอสมควรสำหรับเขาในวันนี้  มืดแปดด้านไปหมด อาเว่ยคิดแล้วคิดอีกจะทำอย่างไรดี  เขาจึง ออกเดินไปเรื่อยๆ เผื่อข้างหน้าจะมีอะไรให้เขากินประทังความหิวได้บ้าง

      อาเว่ยเดินมาถึง บ้านหลังหนึ่ง ซึ่งแม่บ้านหลังนี้ ได้ทำหมั่นโถวแล้ววางเอาไว้หน้าบ้าน  ด้วยความหิว และ ณ ตอนนั้น ปลอดคน อาเว่ย จึงถือวิสาสะ ขโมยหมั่นโถวนั้นกินทันที




     และด้วยความหิวและความอร่อย อาเว่ยกินหมั่นโถวจนหมด  เจ้าของบ้านก็โผล่มา  เมื่อมองไม่เห็น เห็นแต่อาเว่ยอยู่แต่หน้าบ้านแต่เพียงผู้เดียว เขาจึงนึกได้ว่า เรื่องราวนั้นเป็นอย่างไร

      "อาเว่ย นี่เจ้าขโมยหมั่นโถวข้าเหรอ "

       "ข้าเปล่า" อาเว่ยกล่าวตอบ ด้วยเสียงสั่น ด้วยกลัวที่ว่าอาจถูกลงโทษที่ขโมย

       "เปล่าอะไรอาเว่ย หลักฐานคาตาชัดๆขนาดนี้"  เจ้าของหมั่นโถว โวยวายเสียงดัง ด้วยเป็นหมู่บ้านเล็กๆ เมื่อมีเสียงโวยวายดังลั่น ชาวบ้านแถวนั้น จึงมาดูว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น

      เมื่อชาวบ้านทุกคนมาถึง ต่างมุงดูและเห็นเศษหมั่นโถวติดอยู่ที่ปากของ อาเว่ย  ทุกคนจึงตัดสิน ว่า อาเว่ยผิดจริง เพราะหลักฐานที่ติดอยุ่นั่นเอง

       เวลาผ่านไปเนิ่นนาน  หลังจากความผิดในครั้งนั้น อาเว่ยก็ไม่ได้ ทำผิดอะไรอีกเลย เขายังใช้ชีวิต ตามประสา ไปเรื่อยๆ

       จนกระทั่งวันหนึ่ง  อาเว่ยได้รับจดหมายจากน้องสาวของขา  ให้ไปหาซึ่งน้องสาวอยู่หมู่บ้านใกล้ๆกัน กับหมู่บ้านที่เขาอยู่  เพื่อให้พี่ชายไปเยี่ยมเยียนบ้าง  เพราะว่า น้องสาวของเขานั้น จะย้ายตามสามี ซึ่งจะต้องไปทำงาน ที่เมืองอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไปอีก  ซึ่งอาจจะไม่ได้เจอหน้ากันอีกเลย  อาเว่ย จึงรีบเดินทางออกจากหมู่บ้านไปหา



       ประจวบเหมาะพอดี กับเวลาที่อาเว่ย ออกไปเยี่ยมน้องสาว  มีโจนคนหนึ่ง เข้ามาในหมู่บ้านของเขา  และขโมยม้าขอบคนในหมู่บ้านไป  หมู่บ้านที่เคยสงบ ไม่เคยมีขโมยขโจร จึงเกิดความโกลาหลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

       "ม้าของข้าหายไปได้อย่างไร ต้องมีคนมาขโมยม้าของข้าไปแน่ๆ"  เจ้าของม้าที่หายกล่าว

       "ต้องเป็นอาเว่ยแน่ๆ " มีเสียงหนึ่งดังขึ้นมาจากกลุ่มชาวบ้าน  และคนอื่นๆ ก็พลอยพยัก ลงความเห็นไปพร้อมๆกัน  เพราะว่าในหมู่บ้านนี้ ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน  นอกเสียจากเรื่องที่ อาเว่ยเคยเป็นขโมยหมั่ยโถวนั่นเอง

      เมื่ออาเว่ย กลับมาที่บ้าน ก็ต้องเจอกับคนในหมู่บ้านที่ยืนรอเขากลับมาอยู่เต็มบ้านไปหมด  และพอมาถึง ทุกคนก็รุมด่าว่าเขา เป็นคนขโมยม้าไปขายมา

      "ข้าเปล่า ข้าไปเยี่ยมน้องสาวข้ามา"อาเว่ยพยายามอธิบาย  แต่ก็ไม่มีใครเชื่ออาเว่ยเลยสักคน  จากนั้น ทุกคนก็ค้นตัวอาเว่ย ก็เจอกับเงิน ที่น้องสาวอาเว่ยให้ไว้เอาตั้งตัว จะได้ไม่ต้องลำบากอีกต่อไป

      เมื่อทุกคนเห็นอาเว่ยมีเงินมากมาย จึงคิดว่า เป็นเงินที่อาเว่ย ขโมยม้าไปขาย จึงยึดเงินนั้นให้เจ้าของม้า และไล่อาเว่ยให้พ้นออกจากหมู่บ้านไป


สุภาษิตสอนใจ

  "ทำชั่วแม้เพียงครั้งเดียว ย่อมจะถูกสงสัยไปตลอดกาล"

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เศรษฐี กับ ยาจก



    ในเมืองต้าเหลียว  นั้น มีเศรษฐีอยู่ท่านหนึ่ง เขาเอง เป็นที่ นับหน้าถือตาของคนในเมืองนั้นเป็นอย่างมาก เพราะว่า เขาเป็นคหบดี ที่ร่ำรวยที่สุดในเมือง  นอกจากนี้ ตัวท่านเศรษฐีเอง ยังเป็นคนจิตใจที่ดีงามอีกด้วย หากว่า ใครมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ  หากตัวท่านเอง พอจะมีความสามารถช่วยเหลือได้ ก็จะช่วยด้วยความยินดี ทุกครั้ง 


     อยู่มาวันหนึ่ง ท่านเศรษฐี ผุ้นี้ มีเวลาว่างจากการทำงานและดูแลกิจการ  ซึ่งตามปกติวิสัยแล้ว ท่านเศรษฐี ก็จะเดินเล่น ดูเมือง ดูชิวิตของผู้คนในเมืองนั้นๆ และสำรวจช่องทาง หาโอกาสทางการค้าไปด้วยนั่นเอง  และระหว่างที่ ท่านเศรษฐี เดินอยู่นั้น ก็มีผู้คน ที่ให้ความเคารพ ทักทายท่านอย่างนบนอบมากมาย และแน่นอนว่า ท่านเศรษฐี จะต้องพึงพอใจเป็นอย่างมาก

     ระหว่างที่ ท่านเศรษฐี กำลังเดินไปนั้น ก็มีชายแก่ขอทานคนหนึ่ง แต่งตัว กระมอม ซอมซ่อ นั่งอยู่นิ่งๆ  ซึ่งปกติแล้ว ขอทาน ทุกคนในเมืองนี้ เมื่อเห็นท่านเศรษฐี ก็จะเคารพนบนอบ พร้อมกับที่ เศรษฐีจะทำทานให้กับขอทานนั้นๆ  เมื่อท่านเศรษฐีเห็นว่า ขอทานเฒ่าคนนี้ ไม่ยอมทำความเคารพนบนอบตนเอง ก็รู้สึกแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง  จึงตัดสินใจ เดินเข้าไปหาขอทานคนนั้นเพื่อถามให้รู้เรื่อง



     "นี่เจ้า เจ้าไม่รู้จักข้าเช่นนั้นรึ ว่าข้าคือใครในเมืองนี้"  ท่านเศรษฐีถาม

     "ข้ารู้จักท่านดีเสียทีเดียวเลยละ ท่านเศรษฐี"  ขอทานกล่าว

     "ในเมื่อเจ้ารู้จักข้าเป็นอย่างดี  เหตุใดเจ้า จึงไม่แสดงความเคารพข้า หรือสรรเสริญข้าเลยแม้แต่น้อย" ท่านเศรษฐีกล่าวถาม ขอทานยาจกนั้นด้วยความสงสัย  ทำให้ขอทานดังกล่าว  ยิ้มขึ้นเล็กน้อยแล้วกล่าวต่อท่านเศรษฐีว่า

      "เหตุใดที่ข้า จะต้องเคารพสรรเสริญท่านด้วยเล่า ท่านยังไม่เคยให้เงินแก่ข้าสักครั้งเดียว"  ขอทานกล่าวแก่ท่านเศรษฐี

    เมือ่ได้ยินเช่นนั้น ท่านเศรษฐี จึงหยิบเงินจำนวน 10 อีแปะ ส่งให้กับขอทาน

   "แล้วเยี่ยงนี้ เจ้าสมควร ที่จะเคารพและสรรเสริญข้าได้หรือยัง"
 
     เมือเห็นเงินดังกล่าว ขอทานก็หัวเราะร่าต่อหน้าเศรษฐี พร้อมกล่าวว่า

   "เงินจำนวนน้อยนิดแค่นี้ ไม่เพียงพอ ที่จะทำให้จิตใจของข้า มีสำนึก และสรรเสริญท่านได้หรอก"

    ท่านเศรษฐีฉงน จึงถามว่า " แล้วถ้าข้าให้เงินเจ้า 2 ใน 10  ส่วนที่ข้ามีละ"

    "เฮอะ กับแค่แบ่งเงิน ท่านยังแบ่งไม่ยุติธรรมเลย แล้วมีเหตุอันใด ข้าต้องสรรเสริญท่านด้วย "ขอทานกล่าวตอบ

    "งั้นข้าแบ่งให้เจ้าครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินที่ข้ามี  อย่างนี้เจ้าจะพอเคารพข้าได้หรือยัง "ท่านเศรษฐีกล่าว

    "ข้ามีเงินเท่ากับท่านแล้ว แล้วข้าจะไปสรรเสริญท่านทำไมเล่า ท่านเศรษฐี" ขอทานกล่าวตอบไปอีกครั้ง

    เมือได้ฟัง คำตอบของขอทาน ก็ยิ่งทำให้ท่านเศรษฐีรู้จักขัดใจเป็นยิ่งนัก  ในที่สุด ท่านเศรษฐี จึงกล่าวถามออกมาว่า

   "เอาอย่างนี้ ถ้าข้ายกทรัพย์สมบัติ ของข้าให้เจ้าทั้งหมด  เจ้าจะเคารพสรรเสริญข้าหรือไม่"

   เมื่อได้ยินดังนั้น ขอทานเฒ่า หัวเราะร่า พร้อมกล่าวตอบท่านเศรษฐีไปว่า

 " ข้ามีเงินมากกว่าท่านแล้ว  ข้ากลายเป็นเศรษฐี ส่วนท่านก็กลายเป็นยาจก แล้วข้าจะทำความเคารพท่านให้โง่เสียทำไมเล่า ฮะฮะฮ่า"



สุภาษิตสอนใจ

  "ผู้ที่เขาไม่นิยมการเคารพสรรเสริญ ทำอย่างไรก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้"

บะหมี่ กับ น้ำบะหมี่



     มีชายคนหนึ่ง นามว่า "อาสือ"  อาสือเป็นร้านขายบะหมี่เป็นเจ้าแรกๆของเมืองนี้ และเปิดขายมานานจนมีลูกค้าประจำ  ที่ติดใจ มากินบะหมี่ของอาสือ อยู่เป็นประจำ  ซึ่ง กิจการร้านบะหมี่ของอาสือนั้น ก็ดีวันดีคืน  จนกระทั่งวันหนึ่ง  มีชายแปลกหน้า มากินบะหมี่ ที่ร้านของอาสือ  ด้วยความเป็นพ่อค้า อาสือ ต้อนรับ ลูกค้าแปลกหน้านั้นเป็นอย่างดี

    " รับอารายลีขอรับนายทั่ง " อาสือถามลูกค้าหน้าใหม่

     " บะหมี่เถ้าแก่ ชามละเท่าไหร่ " ชายแปลกหน้าถาม

     " 50 อีแปะ " อาสือตอบ

     " แล้วน้ำบะหมี่ละ เท่าไหร่เถ้าแก่" 

เมื่ออาสือ ได้ยินคำถามเรื่องน้ำบะหมี่จากชายแปลกหน้าก็ตกใจ  เพราะตั้งแต่เปิดร้านบะหมี่มา ก็ไม่เคยมีลูกค้าคนใหน ถามหาซื้อน้ำบะหมี่สักคน  หากว่า มีใครต้องการน้ำบะหมี่เพิ่ม แกก็ให้ฟรี ตักให้เพิ่ม โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ

      "เอ่อ  ค่าน้ำบะหมี่ อั๊วม่ายคิด"  อาสือตอบแก่ชายแปลกหน้า

     "งั้น เอาน้ำบะหมี่ชามหนึ่ง"

      เมื่อได้ยินการสั่งเช่นนี้ อาสือ ก็ต้องจำใจ เอาน้ำบะหมี่ ที่ไม่คิดเงิน มาให้ชายแปลกหน้าคนดังกล่าว  ซึ่งเมื่ออาสือ เอาน้ำบะหมี่มาให้แล้ว ชายคนดังกล่าว ก็ซดน้ำบะหมี่ พร้อมกินหมั่นโถว ที่เตรียมมาอย่างเอร็ดอร่อย  เละเมื่อกินเสร็จ ชายแปลกหน้าก็เดินจากร้านไปเฉยๆ  โดยที่ อาสือ ไม่สามารถทำอะไรได้เลย



      พอวันรุ่งขึ้น ชายแปลกหน้าคนเดิม ก็เดินมาที่ร้านบะหมี่ ของอาสืออีกครั้ง แต่คราวนี้ อาสือ คิดหมายมั่นปั้นมือ ไว้แล้วว่า จะต้องเอากำไร จากชายแปลกหน้า จอมยียวนคนนี้ให้ได้  เนื่องจาก เมื่อวานแค้น เพราะเสียรู้มาคราวหนึ่งแล้วนั่นเอง

      "บะหมี่ชามเท่าไหร่ " ชายคนเดิมถาม

อาสือ เมื่อได้ยินดังนั้น ก็อดที่จะกระหยิ่มยิ้มย่องในใจไม่ได้ จึงรีบตอบกลับชายแปลกหน้า พร้อมยิ้มกรุ่มกริ่ม

       "บะหมี่ 50 อีแปะ"

แล้วน้ำบะหมี่ละเถ้าแก่    ชายคนเดิมถามต่อ

      "น้ำบะหมี่ร้านอั๊ว ชามละ 100  อีแปะ"  อาสือตอบ

    ชายแปลกหน้านิ่งไปสักครู่จึงกล่าวว่า

      "งั้นเอาบะหมี่น้ำ 1  ชาม "

คราวนี้อาสือ แอบคิดในใจว่า  คงจะฟันกำไรจากชายแปลกหน้าเป็นที่ถอนทุนจากเมื่อวานได้ด้วย และเมื่อชายแปลกหน้า กินบะหมี่เสร็จก็ถือถ้วยที่กินบะหมี่จนหมด  เหลือแต่น้ำบะหมี่มาหาอาเล้ง แล้วกล่าวว่า

 " ข้าคืนน้ำบะหมี่ เอาเงินมาให้ข้า 50  อีแปะด้วย"



สุภาษิตสอนใจ

  "คิดจะทำการค้า จะต้องรู้จักทันคน"

ความรู้กับการค้าขาย



     ในสมัยก่อน จีน นั้น ยังไม่มีการสนับการศึกษาให้กับบุตรหลานเท่าใดนัก  มีร้านขายสมุนไพรอยุ่สองร้านใกล้ๆกัน   ซึ่งทั้งสองร้านนั้น มีลูกสาว และ ลูกชาย อย่างละคู่ ทั้งสองร้าน  แต่แตกต่างกันตรงที่ ร้านแรกนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยส่งทั้งลูกชายและลูกสาว ไปร่ำเรียนวิชาในสำนักต่างๆ เพื่อจะได้มีวิชาความรู้ติดตัว  แต่อีกร้าน ต่างจากร้านแกร ตรงที่เก็บลูกชายและลูกสาวอยู่บ้าน ช่วยกันทำมาค้าขายเพียงอย่างเดียว

    จนกระทั่งวันหนึ่ง  เถ้าแก่ร้านยาทั้งสองร้านได้มีโอกาสมาเจอกันที่ โรงน้ำชาแห่งหนึ่งในเมือง จึงได้เอ่ยพูดจาปราศรัย ถึงลูกๆของตัวเอง

    "ท่านชุน  ข้าเห็นท่านส่งบุตรสาว บุตรขายของท่านออกไปร่ำเรียนนอกบ้านเช่นนั้นรึ"  เถ้าแก่ลี่ เถ้าแก่ร้านที่สองกล่าว

    "เป็นเช่นนั้นท่านลี่  ข้าอยากให้บุตรสาวบุตรชายของข้า มีวิชาความรู้ติดตัว"

    "เอ ข้าว่าเสียเวลาเปล่านา ท่านชุน  จะเรียนไปใยเล่า เรียนไปก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร  ดูสิ บุตรชาย บุตรสาวของข้า ช่วยงานร้านสมุนไพรข้า อย่างขยันขันแข็ง ข้าก็สบาย ไม่ต้องมาเหนื่อยตรำงานเช่นท่าน คุมการเงินอย่างเดียว สบายใจ ฮะๆๆฮ่า" พ่อค้าลี่กล่าวพลางหัวเราะจิบน้ำชา

   เถ้าแก่ชุน ได้ฟังคำกล่าวเช่นนั้นจาก เถ้าแก่ลี่ ก็ได้แต่นั่งอมยิ้ม มิได้กล่าวข้อความใดๆ โต้กลับไปอีกเลย



  
   วันเวลาผ่านล่วงเลยไป  บุตรสาวบุตรชายของเถ้าแก่ชุน ก็ได้สำเร็จการศึกษา  บุตรชายของเถ้าแก่ชุนนั้น มีโอกาสมากกว่า จึงได้สอบเป็นขุนนางในราชสำนัก  แม้ว่าจะไม่ได้เป็นขุนนางใหญ่โต แต่ก็เป็นที่เชิดหน้าชูตาของวงศ์ตระกูลได้เป็นอย่างดี  ซึ่ง บุตรชายของเถ้าแก่ชุน ก็สามารถก้าวหน้า ขึ้นตามลำดับในเวลาต่อมา

   ส่วนบุตรสาวนั้นได้นำวิชาความรู้ต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมา  นำมาปรับใช้ในการค้าขายทำให้กิจการสมุนไพรของร้านนั้น เจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้ ยังมีเส้นสาย จากคนที่ไปเรียนด้วยกัน ทำให้มีเส้นสาย และ มุมมองที่กว้างมากขึ้น นอกจากจะขายสมุนไพรในเมืองนั้นแล้ว ยังสามารถ ส่งสมุนไพรไปขายยังต่างเมือง รวมถึงการจัดสมุนไพร ส่งให้กับราชสำนัก และขุนนางน้อยใหญ่ได้อีกเป็นอย่างดีด้วย

   ด้วยเหตุนี้ ร้านสมุนไพร ของเถ้าแก่ชุน จึงมีกิจการใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ  ส่วนกิจการของเถ้าแก่ลี่นั้น ก็ดำเนินไปได้เรื่อยๆ ส่วนบุตรสาว บุตรชายนั้น ก็ทำงานตามที่เถ้าแก่ลี่สอน มีกินมีใช้ไปวันๆ แต่ก็ไม่ได้ร่ำรวยมากขึ้น หรือมีเงินทองมากมายอะไร  และบางครั้ง คราวคับขันที่ต้องอยู่ในช่วงสงคราม ข้าวยากหมากแพง  กิจการก็ถึงกับซบเซา ต้องมาขอหยิบยืมเงินจากเถ้าแก่ชุนก็ยังมี

     เถ้าแก่ลี่ กล่าว " ถ้าข้ารู้อย่างนี้ ข้ายอมลำบาก ส่งลูกข้าไปเรียนหนังสือเหมือนท่าน ข้าจะได้ไม่ต้องมากลุ้มใจตอนแก่ เสียอย่างนี้" 


สุภาษิตสอนใจ

   "เลี้ยงลูกชายโดยไม่ให้การศึกษา ก็เหมือนเลี้ยงลา เลี้ยงลูกสาวโดยไม่ให้การศึกษา ก็เหมือนการเลี้ยงหมู"

คนขี้เหนียวความรู้



    ในช่วงสมัยที่จีนนั้น ยังมีการแข่งขันเพื่อสอบเป็นจอหงวน  มีหลายสำนักหลายที่ เปิดสอนวิชาให้กับ เหล่าบุรุษที่สนใจใฝ่ศึกษา  และต้องการที่จะเข้าสอบแข่งขันจอหงวน และในสำนักแห่งหนึ่ง ก็จะมีผู้ที่มาร่ำเรียนศึกษาวิชากันอย่างมากมาย  และแน่นอนว่า จะต้องมีทั้งผู้ที่หัวดี จดจำได้ไว  กับผู้ที่ค่อนข้างจะหัวช้า และในสำนักแห่งนั้น ก็มีศิษฐ์เอกประจำสำนักสองคนคือ  อาหวัง กับ อาหลง

     อาหวังนั้น เป็นลูกขุนนาง ศักดินาใหญ่โต  อาหวังเข้ามาเรียนที่นี่ได้ ก็เป็นเพราะด้วยบารมีของพ่อของเขาที่รู้จักกับอาจารย์ประจำสำนัก  ส่วน อาหลงนั้น เป็นลูกของคหบดีผู้มั่งคั่ง  ด้วยความที่ อาหวังเป็นลูกขุนนางใหญ่  ท่านพ่อท่านแม่ของอาหวัง จึงตั้งความหวังในตัวของเขาเป็นอย่างมาก ที่จะต้องสอบแข่งขันจอหงวนในครั้งนี้ให้จงได้    ส่วนอาหลงนั้น  ทางพ่อของเขา ก็ไม่ได้หวังอะไรเท่ากับ อาหวัง เพราะว่าา หากอาหลงไม่สามารถสอบแข่งขันเป็นจอหงวนได้  อาหลงก็กลับมาสืบสานกิจการต่อที่บ้านของเขาได้

     อีกสิ่งหนึ่ง ที่ต่างกันของสองศิษฐ์เอกในสำนักนี้ก็คือ  อาหวัง เป็นคนที่หวงวิชามาก  ไม่ว่าศิษฐ์คนใหนใหม่เก่า มาถามถึง วิชาความรุ้อะไรที่ไม่เข้าใจ เขาก็มักจะไม่ตอบ หรือไม่ก็หาทางหลบเลี่ยงอยู่เสมอ เพราะว่า เขากลัวว่า หากเขาสอนหรือแนะนำใครไปในสิ่งที่เขาไม่รู้ คนๆนั้นที่เขาสอน จะเก่งเกินหน้าเกินตาตัวเองไป



    ส่วนอาหลงนั้น  คุณลักษณะแตกต่าง  เขาเป็นคนจิตใจเอื้อเฟื้ออารี หากว่ามีใครคนใหน ไม่เข้าใจตรงใหน หรือมาถามอะไร อาหลงยินดีให้คำชี้แนะอย่างเต็มความสามารถ  บางครั้ง เขาก็เชื้อเชิญเพื่อนๆของเขาเอง หรือกลุ่มนักศึกษา มาที่บ้านพักของเขา เพื่อปรึกษา พูดคุยเกี่ยวกับการเรียน  ซึ่งอาหลงว ก็จะเป็นคนที่อธิบายความรู้วิชายากๆ นำมาแนะนำให้กับคนอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีแทนอาจารย์

    เมื่ออาหวัง เห็นการกระทำของอาหลงที่แตกต่างจากตน  ก็อดที่จะสงสัยไม่ได้  วันหนึ่ง อาหวังเห็น อาหลง นั่งอ่านตำราอยู่คนเดียว ใต้ต้นดอกท้อของสำนัก  จึงได้เดินเข้าไปหา แล้วไต่ถามด้วยความสงสัย

   "อาหลง ข้าขอถามเจ้า จริงๆเถอะนะ  การที่เจ้าไปอธิบาย วิชาความรู้ของเจ้า  เจ้าไม่กลัวบ้างรึ ที่เขาจะมาแข่งแย่งชิงตำแหน่งจอหงวนของเจ้าไป "  อาหวังถาม

    เมื่ออาหลงได้ยินคำถามของอาหวัง  อาหลง ก็หัวเราะ พร้อม สั่นหัว พร้อมหันมายิ้มเล็กน้อย ก่อนตอบว่า

   " หาเป็นเช่นนั้นเลยอาหวัง  การที่ข้าอธิบายวิชาความรู้นั่นแหละ ที่จะทำให้ข้ามีโอกาสได้ตำแหน่งจอหงวน มากยิ่งขึ้นๆ " อาหลงตอบ

   "เหอะ  เจ้าพูดอย่างกับว่าข้าเป็นคนไม่ประสา ข้าไม่พูดกับเจ้าแล้ว" ว่าแล้ว อาหวังก็เดินจากไป

    หลังจากผ่านพ้น การสอบบัณฑิตจอหงวนกันหมดแล้ว แน่นอนว่า เกือบทุกคนในสำนักนั้น ก็เดินทางไปสอบจอหงวน อาหวัง นั้นก็ยังนั่งทบทวนตำราเพียงลำพังในมุมๆหนึ่งของสำนัก  ต่างกับอาลี่  ที่นั่งทบทวน พร้อมแนะแนว อธิบายให้กับเพื่อนๆอีกหลายคนเช่นเดิม

    เมื่อการสอบผ่านไป  และมีการประกาศผลสอบจอหงวนออกมา  ผู้ที่ได้ตำแหน่งจอหงวน ก็คือ "อาหลง"  ซึ่งทำคะแนนได้สูงมากเลยทีเดียว  ส่วนอาหวังนั้น ได้ตำแหน่งรองลงมาจาก อาหลง อยู่ค่อนข้างเยอะทีเดียว  และในขณะที่อาหวัง นั่งเศร้าโศรกเสียใจอยู่นั้น   อาหลงก็เดินไปหาและกล่าวว่า

  " อาหวังเอ๋ย การที่เราอธิบายวิชาให้ผู้อื่นนั้น ก็เท่ากับเราเรียนเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวเลยทีเดียว"



สุภาษิตสอนใจ

"ขณะที่เราสอนผู้อื่นนั้น สมองของเราก็เรียนไปด้วย"

จากใจคนเรียบเรียง

     ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่น ที่ผมได้ไปประกอบ วิชาชีพ ทำธุรกิจ อยู่ที่ดินแดนมังกร มาร่วมสิบปี ทำให้ได้รู้ ได้เห็น สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของชาวจีน ที่คนทั้งโลก ยอมรับนับถือ ในการ ก่อร่างสร้างตัวในการประกอบธุรกิจ

      จาก เสื่อผืน หมอนใบ สู่ความมั่งคั่งร่ำรวยในปัจจุบัน

      นอกจากความสามารถ ที่ เหล่า คนจีน ที่อพยพข้ามน้ำข้ามทะเล ห่างจากบ้านเกิดเมืองนอน จนสามารถ ประกอบธุรกิจ เป็นเจ้าของธุรกิจที่ใหญ่โตได้แล้ว  พวกเขามีวิธีการอย่างไร มีการสั่งสอนอบรมอย่างไร ทำให้ทายายทให้ตระกูลนั้น ดำรงทรัพย์นั้นไว้ได้เป็นอย่างดี และเพิ่มพูนขึ้นอีกด้วย

     จากรุ่นแรก สู่รุ่น สอง สู่รุ่นสาม

      บรรพบุรุษ มีวิธีการสอน การอบรม การยึดถือ ปรัชญาใดๆ อย่างไร เขาสอนแบบใหน ถึงสามารถสอนกันได้รุ่นต่อรุ่น เขาสอนกันได้อย่างไร

      เรื่องเหล่านั้นั้น สมควรเป็นเรื่องที่น่าศึกษาค้นคว้าเป็นอย่างยิ่ง

      นิทานจีนสั้นๆ ที่ผมรวบรวม จากการเคยได้ฟัง ได้อ่าน ซึ่งเป็นกุศโลบาย จากรุ่นสู่รุ่น ในการถ่ายทอดสอนสู่ลูกหลานแทนการสั่งสอนว่ากล่าวตรงๆ

      นอกจากจะได้เป็นการสั่งสอน ลูกหลาน ให้ได้เป็นองค์ประกอบความรู้ในชีวิตแแล้ว ยังได้ความเพลิดเพลิน พร้อมได้แนวทาง เกล็ดความคิดที่สอดแทรก อันมาจาก ผลึกความคิดอันล้ำลึกของการสร้างตัวอย่างชาวมังกร อย่างน่าทึ่ง อีกด้วย


                                                    ด้วยความเคารพรัก

                                                         ตี๋ใหญ่





สืบสานตำนานพ่อค้า ลูกหลานชาวจีน ตี๋ใหญ่ชอป   http://www.teeyaishop.com